เบอร์5

แอร์ฉลากเบอร์ 5 แบบใหม่ มีดาว

ลูกค้าหลายท่าน ตัดสินใจการซื้อสินค้าสักชิ้น จากฉลากประหยัดไฟ เบอร์5 แน่นอน
ล่าสุด กฟผ. ได้จัดทำมาตรฐานการประหยัดพลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากประหยัดไฟฟ้า เบอร์ 5 ให้สูงขึ้นกว่าฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เดิม
 โดยปรับให้เป็น “ฉลาก ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ติดดาว” โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนา ประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้า และให้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้นแก่ผู้บริโภค ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ง่ายกว่าเดิม

เบอร์5

รูปภาพแสดง ข้อมูลต่างๆของฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 รูปแบบใหม่

โดยฉลากประหยัดไฟฟ้า เบอร์5 รูปแบบใหม่ แบ่งเกณฑ์ระดับประสิทธิภาพพลังงานออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
เบอร์ 5 , เบอร์ 5 , เบอร์ 5 ★★  , เบอร์ 5 ★★★
ซึ่งยิ่งมีจำนวนดาวมาก ยิ่งแสดงถึงการประหยัดไฟที่มากขึ้น โดยแต่ละระดับสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5 – 10
เครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 รูปแบบใหม่นี้ ได้เริ่มวางจำหน่ายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ที่ผ่านมาต่อไปนี้ หากจะเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่าลืมมองหาฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 รูปแบบใหม่ สังเกตง่ายๆ คือ ฉลากที่มี “ดาว” ★ ปรากฏบนฉลาก ดาวยิ่งมาก ยิ่งประหยัดไฟ !!!

ทำความรู้จักค่า SEER บนฉลากประหยัดไฟเบอร์ห้าของแอร์

          ประเทศไทยเราอยู่ในเขตร้อนครับ และประเทศเราก็ไม่มีฤดูหนาวอย่างเป็นทางการมาเป็นสิบปีแล้ว เรามีแค่ ร้อน ร้อนกว่า กับร้อนที่สุดละมั้ง และนั่นทำให้หลายบ้านต้องติดแอร์ครับ แต่สิ่งที่ต้องทำใจเวลาที่ติดแอร์ก็คือ “ค่าไฟ” ซึ่งบอกตรงๆ เดี๋ยวนี้ค่าไฟสำหรับบ้านที่อยู่กันสองคน แต่เปิดแอร์นอนกันคนละห้อง เดือนนึงสามพันกว่าบาทนี่คงเป็นเรื่องปกติละมั้ง จะไม่เปิดแอร์เลยคงไม่ได้ ดีที่สุดคงทำได้แค่หาแอร์ที่ประหยัดไฟที่สุดมาใช้ ซึ่งหลายคนก็ดูที่ฉลากประหยัดไฟเบอร์ห้านี่แหละ

เบอร์5

รูปภาพแสดง ข้อแตกต่างระหว่างฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 รูปแบบเก่าและรูปแบบใหม่

ข้อแตกต่างเบอร์5 แบบเก่า แบบใหม่

     ฉลากประหยัดไฟเบอร์ห้าสมัยก่อนเป็นแบบนี้ครับ มันจะระบุให้เห็นว่าเป็นมาตรฐานของปีไหน แล้วแสดงข้อมูลให้ดูว่าเครื่องปรับอากาศตัวนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณกี่หน่วยต่อปี แล้วคิดเป็นเงินกี่บาทต่อปี และเมื่อคิดแล้ว ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของแอร์ตัวนี้เป็นเท่าไหร่

 

     ซึ่งประสิทธิภาพของแอร์เนี่ย คือ EER (Energy Efficiency Ratio) ครับ มันเป็นค่าที่ได้จากการทดสอบการทำงานของเครื่องปรับอากาศยี่ห้อและรุ่นนั้นๆ แต่ค่านี้มันมีข้อจำกัด เพราะว่าในสภาพการใช้งานจริง ฤดูกาลที่แตกต่างกันออกไป ก็ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าแตกต่างกันไปได้ ซึ่งแม้ว่าประเทศไทยเราจะไม่ได้มี “หน้าหนาว” จริงจังแล้ว แต่เฉพาะแค่หน้าฝน อากาศมันก็แตกต่างไปจากหน้าร้อนแล้วล่ะ

          ยิ่งปัจจุบันนี้คนหันมาใช้ แอร์แบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ซึ่งมีโฆษณากันปาวๆ ว่า เป็นแอร์ที่ประหยัดไฟขึ้น … แอร์ประเภทนี้จะไม่ได้ทำงานอยู่ภายใต้สภาวะเดียวตลอดทั้งปีครับ ฉะนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงตัวชี้วัดประสิทธิภาพของแอร์ซะใหม่ โดยเพิ่มตัวแปรด้านสภาพอากาศเข้าไปด้วย

 

          และนั่นก็คือที่มาของค่า SEER (Seasonal Energy Efficiency Ration) ซึ่งก็คือค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของแอร์นั่นแหละ แต่งวดนี้วัดกันตามฤดูกาลด้วย หรือก็คือ นำค่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของแอร์มาร่วมพิจารณา ทำให้เราสามารถใช้มันในการประเมินประสิทธิภาพของแอร์แต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นได้แม่นยำขึ้น

เบอร์5

รูปภาพแสดง เกณฑ์ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แบบใหม่ แบบมีดาว

แอร์เบอร์5มีดาว ต้องมีค่า SEER เท่าไหร่ถึงมีดาวกี่ดวง

เกณฑ์ค่า SEER ฉลากประหยัดเบอร์ 5 แบบใหม่ แบบมีดาว

ระบบธรรมดา (Fix Speed)

ที่มีขนาดทำความเย็น น้อยกว่า 27,000 BTU

  • ค่า SEER 12.85 – 13.84 = ไม่ได้ดาว
  • ค่า SEER 13.85 – 14.84 =
  • ค่า SEER 14.85 – 15.84 = ★★
  • ค่า SEER เท่ากับหรือมากกว่า15.85 = ★★★
      •  

ที่มีขนาดทำความเย็น 27,000 – 41,000 BTU

  • ค่า SEER 12.40 – 13.39 = ไม่ได้ดาว
  • ค่า SEER 13.40 – 14.39 =
  • ค่า SEER 14.40 – 15.39 = ★★
  • ค่า SEER เท่ากับหรือมากกว่า15.40 = ★★★
      •  
ระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter)

ที่มีขนาดทำความเย็น น้อยกว่า 27,000 BTU

  • ค่า SEER 15.00 – 17.49 = ไม่ได้ดาว
  • ค่า SEER 17.50 – 19.99 =
  • ค่า SEER 20.00 – 22.49 = ★★
  • ค่า SEER เท่ากับหรือมากกว่า 22.50 = ★★★
      •  

ที่มีขนาดทำความเย็น 27,000 – 41,000 BTU

  • ค่า SEER 14.00 – 16.49 = ไม่ได้ดาว
  • ค่า SEER 16.50 – 18.99 =
  • ค่า SEER 19.00 – 21.49 = ★★
  • ค่า SEER เท่ากับหรือมากกว่า 21.50 = ★★★
      •  

สรุปง่ายๆ คือ หากลูกค้าคิดจะซื้อแอร์แล้วต้องการจ่ายค่าไฟให้ประหยัดที่สุด สิ่งที่ต้องทำก็คือ

  1. เลือกแอร์ที่มี BTU เหมาะสมกับขนาดของห้องนะครับ
  2. ถ้าเป็นไปได้ เลือกใช้แอร์แบบอินเวอร์เตอร์ (ราคาแอร์อาจจะแพงกว่า แต่ในระยะยาวก็จะประหยัดไฟกว่าแอร์ทั่วไป แต่อันนี้เลือกตามความคุ้มค่านะครับ)
  3. ดูข้อมูลจากฉลากประหยัดไฟเบอร์ห้าครับ ดูค่า SEER ด้วย แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า ประหยัดไฟเบอร์ห้า แสดงว่ายี่ห้อนี้รุ่นนี้ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับเบอร์นี้ แต่ว่าแอร์ต่างยี่ห้อต่างรุ่น แม้จะเบอร์ห้าเหมือนกัน แต่ก็อาจจะประสิทธิภาพในการใช้พลังงานแตกต่างกันนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก ศูนย์ข่าวพลังงาน energynewscenter

Facebook
Twitter