การซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ
การซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศคือขั้นตอนการทำให้เครื่องปรับอากาศที่มีปัญหากลับมาทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพอีกครั้ง การซ่อมแบบเต็มรูปแบบมักจะต้องถอดชิ้นส่วนทั้งหมดออกมาเพื่อตรวจสอบ ซึ่งอาจจำเป็นสำหรับเครื่องปรับอากาศที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน เครื่องปรับอากาศไม่เย็น การส่งเสียงดังผิดปกติของเครื่องปรับอากาศ หรือการที่เครื่องปรับอากาศมีกลิ่นไม่พึงประสงค์จากระบบท่อภายในที่ผิดปกติ ซึ่งในบทความนี้เราจะอธิบายถึงการซ่อมบำรุงที่จำเป็นของเครื่องปรับอากาศเพื่อให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม
กำจัดสิ่งอุดตันในเครื่องปรับอากาศ การใช้เครื่องปรับอากาศติดต่อกันเป็นเวลานานเป็นสาเหตุของการอุดตันของช่องลมต่างๆ ซึ่งเกิดจากฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกที่สะสมก่อตัวจนทำให้ลมไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติทำให้แอร์ไม่เย็น การซ่อมแซมในส่วนนี้ทำได้โดยการทำความสะอาดในส่วนของช่องระบายอากาศเพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ดีอีกครั้ง
การยับยั้งการก่อตัวของฝุ่นละอองโดยปกติ ฝุ่นละอองมักก่อตัวในส่วนของใบพัดของคอยล์ร้อน ถ้าใบพัดไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ฝุ่นละอองเหล่านี้จะดูดซับความชื้น และกัดกร่อนให้เกิดสนิมบนใบพัด ฉนั้นการทำความสะอาดใบพัดจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ
การซ่อมแซมส่วนที่สึกกร่อนทุกส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องปรับอากาศ ควรฉาบทาด้วยสารป้องกันสนิมหรือการผุกร่อน และมีการถอดชิ้นส่วนออกมาเพื่อตรวจสอบว่ามีสนิมหรือไม่ หากมีจะมีเคาะสนิมออกกาีรพ่นเคลือบด้วยสารป้องกันสนิมและสารป้องกันการสึกกร่อน ซึ่งรวมถึงส่วนของใบพัด และส่วนประกอบอื่นๆที่เป็นโลหะด้วย
ทำความสะอาดส่วนของท่อระบายน้ำปัญหาท่อตันเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการลดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศ นำไปสู่การขัดข้องของคอนเดนเซอร์ และการระเหยของน้ำ ปัญหานี้แก้ไขได้โดยทำความสะอาดและตรวจสอบสิ่งที่อุดตันอยู่ หรือหากจำเป็นอาจจะต้องเปลี่ยนท่อแอร์
การแก้ปัญหาเสียงรบกวนการทำงานที่ผิดพลาดของแบร์ริ่ง(ลูกปืน) อาจก่อให้เกิดเ้สียงรบกวนในจณะเครื่องปรับอากาศทำงาน การซ่อมแซมเบื้องต้น คือการตรวจสอบสภาพของแบร์ริ่ง และถอดเปลี่ยนตัวที่มีปัญหาเพื่อกำจัดเสียงรบกวน
การแก้ไขเรื่องความเย็นและความสะอาดหลังจากทำการตรวจสอบ ทำความสะอาด และเปลี่ยนชิ้นช่วนที่มีปัญหา จะมีการประกอบชิ้นส่วนกลับคืน และตรวจสอบการรันเครื่องเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ หากได้ผลเป็นที่น่าพอใจทีมช่างจะเขียนข้อมูลสรุปการทำงาน และแจ้งกำหนดการซ่อมแซมครั้งต่อไป จึงสามารถสรุปได้ว่า การซ่อมบำรุงแบบเต็มรูปแบบจะทำให้เครื่องปรับอากาศกลับมามีประสิทธิภาพเต็มที่ อีกทั้งยังป้องกันการเสียหายของอะไหล่ส่วนต่างๆ เป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จายเนื่อจากต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีราคาสูง
การใช้เครื่องปรับอากาศติดต่อกันเป็นเวลานานเป็นสาเหตุของการอุดตันของช่องลมต่างๆ ซึ่งเกิดจากฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกที่สะสมก่อตัวจนทำให้ลมไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติทำให้แอร์ไม่เย็น การซ่อมแซมในส่วนนี้ทำได้โดยการทำความสะอาดในส่วนของช่องระบายอากาศเพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ดีอีกครั้ง
โดยปกติ ฝุ่นละอองมักก่อตัวในส่วนของใบพัดของคอยล์ร้อน ถ้าใบพัดไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ฝุ่นละอองเหล่านี้จะดูดซับความชื้น และกัดกร่อนให้เกิดสนิมบนใบพัด ฉนั้นการทำความสะอาดใบพัดจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ
การบริการ
ตรวจเช็คคอยล์ร้อน เปลี่ยนคอมเพลสเซอร์แอร์ใหม่ รับประกันงาน 6 เดือน
อุปกรณ์ช่วยสตาร์ท เช่น คาปาซิเตอร์ แม็กเนติก โอเวอร์โหลด ฯ
ซ่อมรั่วแอร์ ที่แผงคอยล์ร้อน ซ่อมรั่วแอร์ที่แผงคอยล์เย็น
ปัญหาท่อน้ำทิ้ง อุดตันหรือ ไม่ได้ระดับ
อุปกรณ์ช่วยสตาร์ท เช่น คาปาซิเตอร์ แม็กเนติก โอเวอร์โหลด ฯ
เปลี่ยนมอเตอร์คอยล์เย็น เปลี่ยนมอเตอร์คอยล์ร้อน
เปลี่ยนคอยล์ร้อนใหม่ยกชุด
การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ (Maintenance) ?
เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานยาวนาน จึงควรหมั่นดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีการก็มีทั้ง แบบที่ทำเองได้ และต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญ
การทำความสะอาดเบื้องต้นด้วยตนเอง ทำได้โดยการถอดแผ่นกรองอากาศ(Filter) มาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า แล้วใส่กลับคืน ซึ่งอาจจะทำสัปดาห์ละครั้ง หรือ เดือนละ 2 ครั้งขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และความสกปรก
การรักษาแผ่นกรองให้สะอาดอยู่เสมอนั้นทำให้การระบายลมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย
การทำความสะอาดภายในโดยช่างผู้ชำนาญ เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน แต่อาจไม่บ่อยเท่ากับการทำความสะอาดด้วยตนเอง โดยอาจจะทำ 3-6 เดือนต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และการใช้งาน การล้างภายในต้องใช้ช่างผู้ชำนาญ
เนื่องจากต้องมีการถอดชิ้นส่วนบางชิ้น เช่นถอดถาดน้ำทิ้งมาล้างเพื่อให้น้ำทิ้งไหลได้สะดวก และใช้ปั๊มน้ำแรงสูงฉีดทำความสะอาดแผงคอยล์
การตรวจเช็คสภาพ เป็นการตรวจเช็คระบบทั่วไป ซึ่งโดยมากแล้วจะทำพร้อมกับการล้างภายในโดยช่างผู้ชำนาญ
• วัดความดันน้ำยาในระบบว่าเพียงพอหรือไม่
• ตรวจระบบไฟฟ้า เช่นสภาพของสายไฟ
• หยอดน้ำมันมอเตอร์พัดลมทั้งที่คอยล์ร้อน และคอยล์เย็น
• ตรวจสอบและซ่อมแซมฉนวนหุ้มท่อน้ำยาที่เชื่อมต่อระหว่าง คอนเดนซิ่งยูนิต และแฟนคอยล์ยูนิต